วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554

รวยด้วยหุ้น : มือใหม่หัดรวย ก้าวที่สี่ต้องรู้

  อ่านแล้วรวย  บัดนี้เราจะมารู้จักตัวประกอบสองตัวที่สำคัญของตลาดหุ้น นั่นคือ บริษัทต่างๆ ที่นำสินค้าคือหลักทรัพย์หรือหุ้น เข้ามาขายหรือระดมทุนจากนักลงทุนซึ่งเป็นผู้ซื้อ บริษัทที่จะนำหลักทรัพย์หรือหุ้น ขายให้กับประชาชนได้นั้น ต้องมีเงื่อนไขตามกำหนด และจะต้องได้รับอนุญาตจากกรรมการกำกับหลักทรัพย ์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต.ก่อน จึงจะนำหลักทรัพย์หรือหุ้น เข้ามาขายให้กับนักลงทุนได้ และบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้นำหลักทรัพย์หรือหุ้น เข้ามาระดมทุนหรือขายในตลาดหุ้นหรือตลาดหลักทรัพย์ได้นี้ จึงถูกเรียกชื่อเป็นทางการว่า ”บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์” ซึ่งขณะนี้มีอยู่ประมาณ 300 กว่าบริษัท และมีบริษัทต่างๆ ทยอยเข้ามาในตลาด เพื่อให้นักลงทุนได้เลือกซื้อเป็นระยะๆ บริษัทที่เข้าสู่ตลาดแล้ว เช่น บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ชื่อย่อ PTT / บริษัทปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด ชื่อย่อ PTTEP / ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ชื่อย่อ KTB เป็นต้น 
ส่วนสินค้าคือหุ้นหรือหลักทรัพย์ที่บริษัทต่างๆ ที่ได้รับอนุญาตให้นำมาระดมทุนหรือขายให้กับประชาชนนั้น มีชื่อเป็นทางการที่จะได้ยินผู้ประกาศทางโทรทัศน์ เจ้าหน้าที่ของตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือ กลต. เรียกอย่างเป็นทางการเสมอว่า ”หลักทรัพย์จดทะเบียน” แต่นักลงทุนหรือประชาชนทั่วไปก็เรียกกันสั้นๆ ง่ายๆ และตรงเป้าว่า ”หุ้น” ตัวหุ้นนี้ บริษัทต่างๆ เขาจะออกมาเป็นตราสารให้กับผู้ซื้อ หรือที่เรียกกันว่า ”ใบหุ้น” ซึ่งเดิม ใบหุ้นหนึ่งใบ อาจจะมีหุ้นของบริษัทนั้นอยู่หลายหุ้น ส่งผลให้เกิดความยุ่งยาก เมื่อจะซื้อขายหรือเปลี่ยนมือเพียงบางส่วน ดังนั้น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จึงได้ตั้งบริษัทขึ้นมาหนึ่งแห่งชื่อว่า ”บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด” เพื่อทำหน้าที่จดทะเบียนกรรมสิทธิ์ของหุ้น ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ทั้งหมด และหุ้นที่จดทะเบียนนี้ไม่ต้องออกเป็นใบหุ้น แต่จะบันทึกไว้ในคอมพิวเตอร์ ทำให้การแยกและการโอนหุ้นทำได้ง่าย สมัครใจ ทั้งนี้จะต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนหุ้นที่นำออกขายทั้งหมด และต้องไม่มีผู้ถือหุ้นคัดค้านการแต่หากผู้ถือหุ้น ต้องการได้ตราสารหรือใบหุ้นของบริษัทจดทะเบียนมาเก็บไว้เอง ก็สามารถขอให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ฯ นี้ ออกใบหุ้นให้ก็ได้ และเมื่อได้ใบหุ้นแล้ว จะนำไปฝากเพื่อง่ายต่อการขายก็ได้ แต่ต้องขายผ่านบริษัทตัวแทนค้าหลักทรัพย์หรือโบรกเกอร์ต่างๆ ที่จะได้แนะนำในโอกาสต่อไป หลายครั้ง หากประชาชนทำใบหุ้นหาย เมื่อไปแจ้งความที่สถานีตำรวจเพื่อเป็นหลักฐานแล้ว สามารถขอให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ออกใบหุ้นใหม่ได้ นักลงทุนที่ซื้อ - ขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะไม่เคยเห็นใบหุ้นของบริษัทที่ซื้อ - ขาย เพราะสั่งหรือกระทำผ่านโบรกเกอร์ และบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ฯ จะทำหน้าที่บันทึกการถือครองและการเปลี่ยนมือหุ้นไว้ทั้งหมด ดังนั้น การซื้อขายจึงสะดวกสบาย ในกรณีที่นักลงทุนซื้อหุ้น เมื่อครบกำหนดจ่ายเงิน โบรกเกอร์สามารถหักจากบัญชีเงินฝากของลูกค้าโดยอัตโมมัติ หากเป็นการขายเมื่อครบกำหนดรับเงิน โบรกเกอร์จะนำเงินเข้าบัญชีโดยอัตโนมัติเช่นกัน เรียกง่ายๆ ว่าในยุคโลกาภิวัตรออนไลน์นี้ การซื้อขายหุ้นของบริษัทต่างๆ ในตลาดหลักทรัพย์ฯ เปรียบเสมือนการซื้อขายสัญลักษณ์ หรือตัวย่อของบริษัทที่มีราคากำกับ ที่ประชาชนจะเห็นเป็นตัววิ่งหน้าจอโทรทัศน์ หรือกระดาน หรือหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่ออนไลน์ไปได้ทั่วนั่นเอง หุ้นบริษัทจดทะเบียนฯ นี้ ตลาดหลักทรัพย์จะจัดไว้เป็นหมวดหมู่ เพื่อความสะดวกในการลงทุน อีกทั้งเป็นภาพรวมรายกลุ่มที่สามารถอ้างอิงได้ว่า นอกจากหุ้นรายบริษัทแล้ว ช่วงไหนเวลาใด หุ้นของกลุ่มใด เป็นที่สนใจหรือถูกเทขายจากนักลงทุนบ้าง กลุ่มของบริษัทจดทะเบียนฯ นี้ เราจะได้ยินกันบ่อยๆ เช่น กลุ่มธนาคาร / กลุ่มพลังงาน / กลุ่มธุรกิจก่อสร้าง / กลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์หรือชื่อเรียกง่ายๆ คือกลุ่มที่ดิน / กลุ่มธุรกิจการเกษตร / กลุ่มเงินทุนหลักทรัพย์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม บริษัทจดทะเบียนฯ ทั้งหลายนี้ ไม่ใช่จะยืนยงอยู่ในตลาดฯ ตลอดไป เพราะตลาดหลักทรัพย์ฯ สามารถเพิกถอนสถานภาพ การเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนของบริษัทใดๆ ก็ได้ เพื่อไม่ให้ได้รับอนุญาตซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ต่อไป การเพิกถอนหลักทรัพย์หรือหุ้น ของบริษัทใดออกจากตลาดนั้น อาจจะเป็นเพราะบริษัทดังกล่าว ขอเพิกถอนออกไปเองโดยเพิกถอน เกินกว่าร้อยละ10 ของจำนวนหุ้นที่นำออกจำหน่ายทั้งหมด หรือตลาดหลักทรัพย์ฯ อาจจะมีคำสั่งให้เพิกถอนออกไป อันเนื่องจากกระทำผิดข้อบังคับของตลาดฯ อย่างร้ายแรง หรืออาจจะเป็นเพราะการดำเนินการหรือฐานะของบริษัทตกต่ำลง จนอาจจะก่อให้เกิดผลเสียหายต่อนักลงทุน สำหรับกรณีหลัง ที่บริษัทจดทะเบียนมีปัญหาด้านการเงิน หรือมีปัญหาด้านผลการดำเนินงาน ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะไม่เพิกถอนหุ้น หรือหลักทรัพย์ของบริษัทดังกล่าวออกไปทันที แต่จะจัดให้หลักทรัพย์ดังกล่าว เข้าไปอยู่ในกลุ่มบริษัท ที่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน และประกาศให้ผู้ลงทุนทราบโดยทั่วไป กลุ่มดังกล่าวมีชื่อเป็นทางการว่ากลุ่ม ”บริษัทจดทะเบียนที่อยู่ระหว่างฟื้นฟูการดำเนินงาน (COMPANIES UNDER REHABILITATION)“ หรือนักลงทุนจะเรียกง่ายๆ ว่า ”รีแฮป” และหากบริษัท สามารถแก้ไขปัญหาได้ ตามแผนหลักทรัพย์หรือหุ้นของบริษัท ก็จะพ้นจากการเข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน กลับเข้าไปซื้อขายในกลุ่มปกติ แต่ถ้าไม่ ตลาดหลักทรัพย์เห็นว่า จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรง ตลาดหลักทรัพย์ก็จะเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัทดังกล่าว ออกไป  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น